“โครงการหนองมันปลาร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก” โครงการดี ๆ ที่จัดโดยเพื่อน ๆ นักศึกษา เขต 8

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ได้ร่วมกันจัดโครงการหนองมันปลาร่วมใจ ป้องกันภัยไข้เลือดออก ณ ชมรมผู้สูงอายุในวัด หมู่ 18 บ้านหนองมันปลา ตำบลกู่ทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

โดยที่โครงการนี้จัดทำขึ้นเนื่องจากปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนจากการที่นักศึกษาได้ทำการสอบถามบุคคลในชุมชน จึงเป็นการทำโครงการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก รวมถึงการทำอุปกรณ์ดักจับยุงลายที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ไม่ยากจนเกินไป และมีการตรวจสอบดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนอีกด้วย

ในเช้าวันนั้นมีการประกาศเสียงตามสายในชุมชนเพื่อชักชวนบุคคลในชุมชนมาร่วมโครงการ โดยมีการทยอยกันมาเรื่อย ๆ โดยก่อนเริ่มดำเนินการโครงการได้มีการลงทะเบียนที่โต๊ะลงทะเบียน พร้อมทั้งแจกอาหารว่างแก่ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ และหลังพิธีเปิดเสร็จสิ้นได้มีการทำกิจกรรมออกกำลังกายเล็กน้อย และกิจกรรมสันทนาการเพื่อเพิ่มความสนใจให้แก่ผู้ที่เข้ามาร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นเป็นการทำแบบทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการ (Pre-test) เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจที่ผู้เข้าร่วมโครงการมีต่อโรคไข้เลือดออก และเพื่อนำมาประเมินเปรียบเทียบกับแบบทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ (Post-test) เพื่อประเมินว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด

โดยหลังจากการทำแบบทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการ (Pre-test) ทางผู้จัดทำโครงการได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกผ่านการแสดงละคร และการให้ความรู้ผ่านการบรรยายความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอาการของโรค ความอันตราย วิธีรวมถึงการป้องกันและรับมือกับโรคไข้เลือดออก

และได้มีกิจกรรม workshop ในการทำอุปกรณ์ดักจับยุงลายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ทราบถึงวิธีการทำ และได้ลงมือทำด้วยตนเอง รวมถึงสามารถนำอุปกรณ์ที่ทำในโครงการกลับไปใช้ที่บ้านของตนได้

กิจกรรมที่ 1 ลงทะเบียน

ลงทะเบียนพร้อมแจกของว่างให้ผู้เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่ 2 พิธีเปิด

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสันทนาการ

กิจกรรมทายคำจากการใบ้ท่าทาง
กิจกรรมถามคำถามหลังจากการให้ความรู้ และมีรางวัล

กิจกรรมที่ 4 การทำแบบทดสอบก่อนเข้าร่วมโครงการ (Pre-test) และแบบทดสอบหลังเข้าร่วมโครงการ (Post-test)

นักศึกษาอธิบายคำถามแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
นักศึกษาอธิบายคำถามแก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน

กิจกรรมที่ 4 การแสดงละครให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

แสดงละครและพากย์เสียงเป็นภาษาอิสาน
แสดงละครและพากย์เสียงเป็นภาษาอิสาน

กิจกรรมที่ 5 การบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

บรรยายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

กิจกรรมที่ 6 Workshop ทำอุปกรณ์ดักจับยุงลาย

ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงมือทำด้วยตนเอง โดยมีความช่วยเหลือจากนักศึกษา
ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงมือทำด้วยตนเอง โดยมีความช่วยเหลือจากนักศึกษา
ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงมือทำด้วยตนเอง โดยมีความช่วยเหลือจากนักศึกษา

กิจกรรมที่ 7 การสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายก่อนและหลังก่อนทำโครงการ

นักศึกษาสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายตามที่อยู่อาศัย
แหล่งน้ำขังในที่อยู่อาศัย