โครงการ 1 🌟 เบาหวาน ไม่เบาใจ

เมื่อวันพุธที่ 8 พฤศจิกายน 2566 โครงการฝึกภาคสนามร่วมมหาวิทยาลัยขอนแก่นและวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย ครั้งที่ 41 นักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพจากมหาลัยขอนแก่นและวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย โครงการ 1 จำนวน 39 คน จากภาควิชา Community medicine เขต 6 ได้ดำเนินกิจกรรมโครงการบริการวิชาการ “เบาหวาน ไม่เบาใจ” ตั้งแต่เวลา 13.00 น. – 16.00 น. ณ ศาลากลางบ้าน หมู่8 บ้านหนองบัว ตำบลเหล่าบัวบาน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยกิจกรรมโครงการและการลงฝึกภาคสนามวันนี้ได้ดำเนินการตามที่วางแผนไว้

กิจกรรมโครงการบริการวิชาการ “เบาหวาน ไม่เบาใจ” มีวัตถุประสงค์ เพื่ออบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานแก่ประชาชนในชุมชนบ้านหนองบัว  เพื่ออบรมและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแก่ประชาชนในชุมชนบ้านหนองบัว และเพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการใช้ยารักษาโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นโรคประจำตัวที่พบมากที่สุดในหมู่บ้าน บ้านหนองบัวแห่งนี้ โดยจะเน้นไปที่ความรู้ด้านอาหารการกินและยาที่ส่งผลทั้งด้านดีและร้ายต่อโรคเบาหวาน เพื่อให้ชาวบ้านได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญในการปรับพฤติกรรมลดโรคเบาหวาน

กิจกรรมที่ 1: กิจกรรมสันทนาการเพื่อละลายพฤติกรรม แก้ว กะลา ขัน โอ่ง ก่อนได้รับฟังบรรยายความรู้เรื่องเบาหวานแล้ว จึงได้มีการจัดกิจกรรมเพื่อละลายพฤติกรรมและผ่อนคลาย ก่อนเริ่มเข้าสู่กิจกรรมให้ผู้รับบริการทำแบบทดสอบทัศนคติก่อนเรียน 

กิจกรรมที่ 2: “ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน” ในกิจกรรมมีการทดสอบความรู้ก่อนเรียน เป็นกิจกรรมที่ให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับโรคเบาหวานคืออะไร โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไรและเกิดจากสาเหตุอะไร จึงทำให้เกิดโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังอธิบายเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคเบาหวาน เช่น โรคความดันโลหิตสูง  โรคหลอดเลือดหัวใจ และเบาหวานขึ้นตา การป้องกันโรคเบาหวาน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การกินและกิจวัตรประจำวัน เช่น การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก รวมไปถึงการใช้ยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งนี้จะอธิบายถึงอัตราการเกิดและอัตราการเสียชีวิตภายในประเทศ อีกทั้งยังมีกิจกรรมตอบคำถาม แจกรางวัลเพื่อให้ผู้ฟังได้มีส่วนร่วมกับกิจกกรรมอีกด้วย และมีกิจกรรมการทดสอบหลังเรียน

กิจกรรมที่ 3: “การเสริมสร้างทัศนคติในการใช้ยา” ในกิจกรรมมีการทดสอบความรู้ก่อนเรียนกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับกลไกการกลไกการออกฤทธิ์ของยาเบาหวานประเภทที่ 1 Insulin ลดระดับน้ำตาลในเลือด เบาหวานประเภทที่ 2 Metformin, Thiazolidinedione ช่วยลดการผลิตน้ำตาลในตับและเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลินในร่าง Sulfonylureas, Meglitinides กระตุ้นให้ตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน Acarbose จะช่วยชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาล Dapagliftoxin ช่วยยับยั้งการดูดกลับน้ำตาลที่ไต Sitagliptin ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน และชะลอการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ และให้คำแนะนำการยาฉีด ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง บริเวณที่ฉีด ต้นขา หน้าท้อง เปลี่ยนเข็มใหม่ทุกครั้ง เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา และยากิน กินหลังมื้ออาหาร 15-30 นาที อาการข้างเคียงต่างๆจากการได้รับยา ข้อควรระวังหากใช้ยา รวมไปถึงคำเตือนจากการใช้ยาแต่ละชนิด ปิดท้ายได้กิจกรรมตอบคำถามแจกของรางวัล และกิจกรรมทดสอบหลังเรียน

กิจกรรมที่ 4: “การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน” เริ่มกิจกรรมด้วยการทดสอบก่อนเรียน เป็นกิจกรรมที่อธิบายเกี่ยวกับการดูแลตนเองและผู้ป่วยเบาหวานอย่างครอบคลุม โดยเน้นให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ นอกจากนี้ยังอธิบายถึงอาการเสี่ยงหรือข้อบ่งชี้ของอาการนำของเบาหวาน เช่น ปัวสาวะบ่อย ตอนกลางคืน คอแห้งกระหายน้ำบ่อย แผลหายช้า เป็นต้น และข้อปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเบาหวาน เช่น การรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่และดื่มสุรา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย การควบคุมน้ำหนัก และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การดูแลสุขภาพเบื่องต้นเช่น การดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน การดูแลช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานปิดท้ายด้วยกิจกรรมตอบคำถามวัดความเข้าใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ส่งท้ายด้วยกิจกรรมให้ผู้รับบริการทำแบบทดสอบและการทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดความเข้าใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมหลังเรียน

กิจกรรมที่ 5: “เบาหวานกับโรคปริทันต์” เป็นกิจกรรทที่อธิบายเกี่ยวกับโรคเบาหวานทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ หากเป็นเบาหวานจะป้องกันโรคเหงือกได้ ความสัมพันธ์ระหว่างโรคปริทันต์และโรคเบาหวาน อินซูลินทำงานได้ลดลงน้ำตาลในเลือดสูง ภูมิคุ้มกันแย่ลงหลอดเลือดหดตีบ ติดเชื้อง่ายเป็นโรคปริทันต์ ปิดท้ายด้วยกิจกรรมตอบคำถามเพื่อวัดความเข้าใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม